ระเบียบวาระที่  ๔     เรื่องเสนอเพื่อทราบ
                          ๔.๒ รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่  ๑๐  ประจำเดือนเมษายน  ๒๕๖๔
 
สรุปเรื่อง  
 
                     ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาท้องถิ่น
                   ๑. โครงการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก
                       มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์  ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนิน โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ : U2T) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ณ พื้นที่เป้าหมาย ประกอบดัวย ๓ จังหวัด ๔๘ ตำบล อัตราที่รับผิดชอบ จำนวน ๙๖๐ อัตรา ขอรายงานยอดอัตรา ข้อมูลจ้าง ณ วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ดังนี้
                        ๑. อัตราการรับเข้า 
                        จังหวัดปทุมธานี ๑๖ ตำบล (อัตราที่ต้องรับสมัคร ๓๒๐ อัตรา) บรรจุแล้ว ๓๐๘ อัตรา ปฏิบัติงานที่ในพื้นที่ ๒๙๔ อัตรา ปฏิบัติงานที่ศูนย์ราชการ ๑๔ อัตรา อัตราว่าง ๑๒ อัตรา
                        จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๘ ตำบล (อัตราที่ต้องรับสมัคร ๓๖๐ อัตรา) บรรจุแล้ว ๓๐๙ อัตรา ปฏิบัติงานในพื้นที่ ๓๐๖ อัตรา ปฏิบัติงานที่ศูนย์ราชการ ๓ อัตรา อัตราว่าง ๕๑ อัตรา 
                        จังหวัดสระแก้ว ๑๔ ตำบล  (อัตราที่ต้องรับสมัคร ๒๘๐ อัตรา) บรรจุแล้ว ๒๓๗ อัตรา ปฏิบัติงานในพื้นที่ ๒๒๖ อัตรา ปฏิบัติงานที่ศูนย์ราชการ ๑๑ อัตรา อัตราว่าง ๔๓ อัตรา
                        สรุปรวม จำนวนอัตราที่รับผิดชอบ จำนวน ๙๖๐ อัตรา บรรจุแล้ว ๘๕๔ อัตรา อัตราว่าง ๑๐๖ อัตรา
 
                        ๒. อัตราการลาออก
                        เริ่มบรรจุพนักงานจ้างเหมาบริการตามโครงการเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ถึงปัจจุบัน มีอัตราการลาออกอยู่ที่ ๓๑ อัตรา
                        หมายเหตุ : ผู้จ้างงานทุกอัตรา จะต้องผ่านการอบรมตามกรอบเวลาในการฝึกอบรมของสถาบันการศึกษาโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล (University to Tambon) จำนวน ๔ หลักสูตร ดังนี้ คือ
                        หลักสูตร Social Literacy อบรมภายใน เดือน ก.พ.-มี.ค. (รอบที่ ๑)
                        หลักสูตร English Literacy อบรมภายใน เดือน มี.ค.-เม.ย. (รอบที่ ๒)
                        หลักสูตร Digital Literacy อบรมภายใน เดือน เม.ย.-พ.ค. (รอบที่ ๓)
                        หลักสูตร Financial Literacy อบรมภายใน เดือน พ.ค.-มิ.ย. (รอบที่ ๔)
 
                       มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์  ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ : U2T) เพื่อตอบโจทย์และกิจกรรมการพัฒนา จำนวน ๔๘ ตำบล ของแต่ละจังหวัด ดังต่อไปนี้คือ
                       ๑. จังหวัดปทุมธานี ๑๖ ตำบล ตอบโจทย์และกิจกรรมการพัฒนา ด้านการพัฒนาสัมมาชีพและการสร้างอาชีพใหม่ (จำนวน  ๒ ตำบล)  ด้านการสร้างและพัฒนา (Creative Economy) (จำนวน  ๒ ตำบล) ด้านการนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (จำนวน ๓ ตำบล) และด้านการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (จำนวน  ๙ ตำบล)
                       ๒. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๘ ตำบล ตอบโจทย์และกิจกรรมการพัฒนา ด้านการพัฒนาสัมมาชีพและการสร้างอาชีพใหม่ (จำนวน  ๒ ตำบล) ด้านการสร้างและพัฒนา (Creative Economy) (จำนวน  ๑ ตำบล) ด้านการนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (จำนวน ๓ ตำบล) และด้านการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (จำนวน  ๑๘ ตำบล)
                        ๓. จังหวัดสระแก้ว ๑๔ ตำบล ตอบโจทย์และกิจกรรมการพัฒนา ด้านการพัฒนาสัมมาชีพและการสร้างอาชีพใหม่ (จำนวน  ๑ ตำบล)  ด้านการสร้างและพัฒนา (Creative Economy) (จำนวน  ๑ ตำบล) ด้านการนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (จำนวน ๑ ตำบล) และด้านการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (จำนวน  ๑๑ ตำบล)
                        สรุปรวม จำนวนตอบโจทย์และกิจกรรมการพัฒนา ด้านการพัฒนาสัมมาชีพและการสร้างอาชีพใหม่ (จำนวน  ๕ ตำบล)  ด้านการสร้างและพัฒนา (Creative Economy) (จำนวน  ๔ ตำบล) ด้านการนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (จำนวน ๗ ตำบล) และด้านการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (จำนวน  ๓๒ ตำบล) รวมจำนวนทั้งสิ้น ๔๘ ตำบล 
                        สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ  จึงขอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก เพื่อร่วมศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว ต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเพื่อทราบ
                    
                    ๒. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น
                        
                    ๓. โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลตำบล
                            
                     ๔. โครงการเสริมสร้างสมรรถนะภาคีเครือข่าย การวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ระดับตำบล
                        รายงานผลการดำเนินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการจัดทำเครื่องมือการมองอนาคต (foresight tool demonstration) วันที่ ๗ – ๘ เมษายน ๒๕๖๔ โดยมีรายละเอียดหัวข้อการอบรม คือ
                           ๑. การระบุแนวโน้มและสัญญาณการเปลี่ยนแปลง
                           ๒. การวิเคราะห์ปัจจัยการขับเคลื่อนภายนอก
                           ๓. การออกแบบภาพอนาคต
                           ๔. การประยุกต์ใช้เครื่องมือเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนา
                         จากการอบรมช่วยให้คณาจารย์ผู้รับผิดชอบพื้นที่ทราบถึงแนวทางในการประยุกต์ใช้เครื่องมือการสำรวจ และวางแนวทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ให้มีความเหมาะสมกับบริบทความต้องการของประชาชนในพื้นที่ผ่านกระบวนการออกแบบ และการวิเคราะห์
 
                         รายงานผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องชุดเครื่องมือการมองอนาคตในวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๔ โดยการจัดกิจกรรม ดังนี้
                           ๑. การกำหนดชุดเครื่องมือที่จะนำมาใช้งาน ๙ ชุดเครื่องมือ
                           ๒. วิเคราะห์โครงสร้างรายละเอียดของชุมชน
                           ๓. กำหนดโจทย์การออกแบบพัฒนาเชิงพื้นที่ ๔ โครงสร้าง ๕ ชุดเครื่องมือ
                         แผนการดำเนินกิจกรรมต่อไป คือ ให้แต่ละพื้นที่เตรียมความพร้อมในการดำเนินการจัดทำ (ร่าง) แผนการปฏิบัติงานของแต่ละพื้นที่ ตลอดจนประสานกับพื้นที่ขอข้อมูลสนับสนุนการจัดทำแผนในช่วงสถานการณ์ Covid-19 ก่อนการจัดทำประชาพิจารณ์ และการจัดกิจกรรมการพัฒนาร่วมระหว่างผู้นำชุมชน ภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม
                                                   
                    ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การผลิตและพัฒนาครู
                    ๕. โครงการยกระดับการเรียนรู้ ด้านการอ่าน การเขียน และการวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                        ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ได้รับงบประมาณเพื่อดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ในเขตพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยรับผิดชอบ ได้แก่พื้นที่จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว นั้น ในการนี้มหาวิทยาลัย สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดทำโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา เพื่อสร้างเครือข่ายและแก้ปัญหาด้านการศึกษาของนักเรียนในเขตพื้นที่เป้าหมายจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ นั้น สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนขอรายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำเดือนเมษายน  ๒๕๖๔  ดังนี้
                        ในเดือนเมษายน  ๒๕๖๔  สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน  จัดเวทีการนำเสนอแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ก่อนลงสู่ปฏิบัติ ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๔ ณ ห้องประชุมราชนครินทร์ ชั้น ๕ อาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์  ทรายแก้ว อธิการบดี เป็นประธานในการเปิดโครงการ
                        ในขณะนี้ มหาวิทยาลัยมอบหมายให้ผู้จัดการพื้นที่ร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายร่วมพัฒนาชุดสื่อ TTK สำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในโรงเรียน และกำหนดใช้กับนักเรียนในภาคการศึกษาที่ ๑/๒๕๖๔
                        สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน จึงขอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเพื่อทราบ
            
                    ๖. โรงเรียนสาธิตเป็นศูนย์ต้นแบบ และศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้
                         โรงเรียนสาธิตขอรายงานแผนการดำเนินงาน โครงการโรงเรียนสาธิตเป็นศูนย์ต้นแบบ และศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้ โดยการกำหนดขั้นตอนกิจกรรมการดำเนินงาน ดังนี้
                แผนการดำเนินงาน
                ระยะต้นน้ำ          อบรมปฏิบัติการ Active Learning : GPAS 5 Steps เพื่อการพัฒนาการอ่าน การเขียน
                           ระยะกลางน้ำ        โค้ชแบบพี่เลี้ยงพาทำการนำสื่อต้นแบบไปใช้และการต่อยอด                     
                ระยะปลายน้ำ       การนำเสนอการต่อยอดการพัฒนาการอ่าน-การเขียน
                            ความก้าวหน้า      ๑. ประชาสัมพันธ์ และรับสมัครโรงเรียน
                                                   ๒. ศึกษาข้อมูลโรงเรียน
                                                   ๓. ออกแบบหลักสูตรอบรม กำหนดการ
                                                   ๔. ประสานการอบรม
                                                   ๕. ผลิตสื่อต้นแบบ Teacher Toolkits
                                                      ๕.๑ ชุดพยัญชนะ
                                                      ๕.๒ ชุดสระ      
                                                      ๕.๓ แจกรูปประสมคำ              
                                                      ๕.๔ ชุดวรรณยุกต์               
                                                      ๕.๕ ชุดมาตราตัวสะกด
 
                    ๗. โครงการสนับสนุนสื่อวีดิทัศน์ ประกอบการเรียนการสอนเพื่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนครูให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก
                                                                    
                     ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การยกระดับคุณภาพการศึกษา
                    ๘. โครงการพัฒนาความรู้ทักษะด้านภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาครูในศตวรรษที่ ๒๑
 
                     ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาระบบบริหารจัดการ
                    ๙. โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศ (EdPEx)
        
                    ๑๐. โครงการ VRU Mindset
 
                    ๑๑. โครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลมหาวิทยาลัยราชภัฏ                 
                         
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวขัอง
    -
 
ประเด็นเสนอเพื่อทราบ
 
 
มติคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย
    ...............................................................................................................................................................
    ...............................................................................................................................................................
    ...............................................................................................................................................................
    ...............................................................................................................................................................